การยอมรับความแตกต่างกันของคนในสังคม จะช่วยให้สังคมมีความสุขขึ้น และช่วยลดปัญหาความขัดแย้งได้อย่างยั่งยืนหลักการนี้ จึงทำให้มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
นำเป็นโจทย์ในการสร้างกิจกรรมที่จะแก้ปัญหานี้ โดยศึกษาจากประวัติศาสตร์ในอดีตของการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุลักษณ์
พหุวัฒนธรรม ที่ชุมชนยอบรับความแตกต่าง และจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิด “โครงการค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ปี 2559” ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(สกอ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ซึ่งมีแนวทางที่จะสร้างความรู้
ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยบนพื้นฐานความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกัน
อ.ชนะ กร่ำกระโทก อาจารย์ประจำศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผู้ดูแลโครงการนี้จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้เล่าว่า
จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ เกิดจาก ข่าวคราวความไม่สงบในภาคใต้
จึงทำให้คณะทำงานได้ปรึกษากันว่า เยาวชนนั้นน่าจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการดำเนินชีวิตว่า
อยู่อย่างแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก และมีความสุขในสังคมนั้น ควรเริ่มต้นจากอะไรบ้าง
ซึ่งขณะนั้นสกอ. มีแนวคิดที่ตรงกัน จึงสร้างกิจกรรมในลักษณะค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อให้นักศึกษาที่มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศรวม กว่า 100 คน ได้มีโอการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิด โดยเราได้พานักศึกษาลงพื้นที่จริงศึกษาถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนในอดีต
อาทิ การจัดการความขัดแย้ง
ในสังคมพหุลักษณ์ สังคมพหุวัฒนธรรมด้วยสันติวิธี และธรรมาภิบาล ที่มัสยิดวัดท่าการ้อง ชุมชนกุฎีจีน
(โบส์ซางตา ครู้ส) หรือ ทัศนศึกษาชุมชนวัดประยูร (วัดประยุรวงศาวาส)
เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจอย่างถูกต้อง และเป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตรับเป็นผู้จัดการโครงการต่อเนื่องมากว่า
5
ปี
นายรอยยาน ซีนา จากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี จังหวัดปัตตานี นับถือศาสนาอิสลามหนึ่งในตัวแทนผู้เข้าร่วมค่ายเล่าให้ฟังว่า จากเดิมผมรักในหลวงอยู่แล้ว การเข้าค่ายครั้งนี้ทำให้รักในหลวงมากขึ้น ได้เข้าใจลึกซึ้งว่าตลอดหลายปีที่ท่านครองราชย์ได้ทรงทำงานหนักเพื่อประชาชนของพระองค์ ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อประชาชนทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตทรงทุ่มเท อุทิศตนเพื่อรักษาชาติ บ้านเมืองทำให้เราเป็นไทยได้ในทุกวันนี้ ในประวัติศาสตร์ทหารหาญที่ร่วมกันรักษาประเทศมีหลายท่านที่มาจากต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา มีความรักและอยู่อาศัยบนแผ่นดินไทยสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน จนเป็นต้นกำเนิดของบรรพบุรุษต่างๆ ความเสียสละที่เกิดขึ้นทำให้เรากล้าพูดได้ว่าภาคภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย บนแผ่นดินไทย
การร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้ ทำให้เข้าใจในความคิดทุกศาสนาอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถ้าเราเข้าใจแก่นแท้ของทุกศาสนาจากผู้รู้ ผู้ปฏิบัติในศาสนานั้นๆ ที่ทุกคำสอนของทุกศาสนามุ่งให้คนเป็นคนดี ซึ่งเป็นจุดสำคัญให้เราเปลี่ยนความความคิดที่ไม่ดีต่อกันเปลี่ยนความคิดว่าเราทุกศาสนาสามารถเข้ากันได้ อยู่ร่วมกันได้ เริ่มจากตัวเอง ขยายไปที่เพื่อนเรา ไปเพื่อนบ้านเราจนถึงชุมชน และสังคมเรา เหมือนในอดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมา อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน แม้ต่างศาสนากัน สังคมเกิดความสามัคคี และดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ แต่น่าเสียดายที่สังคมปัจจุบัน ขาดความสามัคคี ขาดความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องกัน การให้เกียรติกันถ้าสังคมปัจจุบันได้เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตของคนในอดีตอย่างลึกซึ้ง สังคมจะน่าอยู่มากขึ้นแน่นอนสุดท้ายนี้ การร่วมกิจกรรมจากพี่ น้องที่มาจากพื้นที่ที่แตกต่างกัน รอยยิ้มจากการต้อนรับที่อบอุ่นจากอาจารย์ และพี่ๆทีมงาน ทำให้เกิดมิตรภาพมากขึ้นกิจกรรมหลายๆ อย่างทำให้เห็นถึงความเสียสละ ความทุ่มเท ในการทำงาน ผมจึงรู้สึกสบายใจที่ได้ร่วมกิจกรรม แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน
นายรอยยาน ซีนา จากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี จังหวัดปัตตานี นับถือศาสนาอิสลามหนึ่งในตัวแทนผู้เข้าร่วมค่ายเล่าให้ฟังว่า จากเดิมผมรักในหลวงอยู่แล้ว การเข้าค่ายครั้งนี้ทำให้รักในหลวงมากขึ้น ได้เข้าใจลึกซึ้งว่าตลอดหลายปีที่ท่านครองราชย์ได้ทรงทำงานหนักเพื่อประชาชนของพระองค์ ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อประชาชนทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตทรงทุ่มเท อุทิศตนเพื่อรักษาชาติ บ้านเมืองทำให้เราเป็นไทยได้ในทุกวันนี้ ในประวัติศาสตร์ทหารหาญที่ร่วมกันรักษาประเทศมีหลายท่านที่มาจากต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา มีความรักและอยู่อาศัยบนแผ่นดินไทยสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน จนเป็นต้นกำเนิดของบรรพบุรุษต่างๆ ความเสียสละที่เกิดขึ้นทำให้เรากล้าพูดได้ว่าภาคภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย บนแผ่นดินไทย
การร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้ ทำให้เข้าใจในความคิดทุกศาสนาอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถ้าเราเข้าใจแก่นแท้ของทุกศาสนาจากผู้รู้ ผู้ปฏิบัติในศาสนานั้นๆ ที่ทุกคำสอนของทุกศาสนามุ่งให้คนเป็นคนดี ซึ่งเป็นจุดสำคัญให้เราเปลี่ยนความความคิดที่ไม่ดีต่อกันเปลี่ยนความคิดว่าเราทุกศาสนาสามารถเข้ากันได้ อยู่ร่วมกันได้ เริ่มจากตัวเอง ขยายไปที่เพื่อนเรา ไปเพื่อนบ้านเราจนถึงชุมชน และสังคมเรา เหมือนในอดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมา อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน แม้ต่างศาสนากัน สังคมเกิดความสามัคคี และดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ แต่น่าเสียดายที่สังคมปัจจุบัน ขาดความสามัคคี ขาดความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องกัน การให้เกียรติกันถ้าสังคมปัจจุบันได้เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตของคนในอดีตอย่างลึกซึ้ง สังคมจะน่าอยู่มากขึ้นแน่นอนสุดท้ายนี้ การร่วมกิจกรรมจากพี่ น้องที่มาจากพื้นที่ที่แตกต่างกัน รอยยิ้มจากการต้อนรับที่อบอุ่นจากอาจารย์ และพี่ๆทีมงาน ทำให้เกิดมิตรภาพมากขึ้นกิจกรรมหลายๆ อย่างทำให้เห็นถึงความเสียสละ ความทุ่มเท ในการทำงาน ผมจึงรู้สึกสบายใจที่ได้ร่วมกิจกรรม แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน
นางสาวอำไพ โชคชัยพรนิภา จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ นับถือศาสนาคริสต์ ได้กล่าวว่า ตนเองเคยเข้ารวมค่ายประเภทต่างๆมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ มีความแปลกใหม่ ที่เพื่อนๆ มาอยู่ร่วมกันนั้นมาจากการนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน แต่เราก็สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีความอบอุ่นของพี่น้องต่างสถาบัน ซึ่งนับเป็นการสร้างประสบ- การณ์ที่ดี นอกจากนี้ยังได้รู้ว่า แม้เพื่อนจะไม่ได้นับถือศาสนาเดียวกัน แต่ถ้าเราเรียนรู้ที่จะมีใจศรัทธาในสิ่งเดียวกัน มีความช่วยเหลือกันก็ทำให้สังคมเกิดความสุขได้
นายวรเชรฐ์ มูฮัมหมัดสอี๊ด (วร) จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กรุงเทพฯ ศาสนาอิสลาม กล่าวว่า ค่ายนี้ให้ความสนุกและสอดแทรกความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่างได้อย่างมีความสุข
พยายามให้พวกเรารุ่นใหม่เข้าใจว่า ความแตกต่างไม่ได้เป็นสิ่งแปลกในสังคม
เพราะในอดีตสังคมไทยก็มีความแตกต่างกันในทุกๆด้าน แต่พวกเราก็เป็นชาติเดียวกัน
เป็นคนไทยเหมือนกันหลายๆ
กิจกรรมช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผมโดยเฉพาะ การทำงานร่วมกันกับเพื่อนที่มาจาก 3 จังหวัดภาคใต้ กิจกรรมช่วยสร้างมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีให้กับพวกเราและเกิดสร้างแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง
ให้ทำงานต่างๆสำเร็จยิ่งขึ้น กิจกรรมที่ได้เข้าร่วมครั้งนี้
ได้เรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมการเป็นอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่หลากหลาย
มีหลักปฏิบัติตนของศาสนา ทั้ง 3 ศาสนา ได้เยี่ยมชม
เรียนรู้ประวัติของสถานที่สำคัญ ซึ่งความรู้ที่ได้ครั้งนี้
จะนำไปบอกต่อให้กับเพื่อนๆ และรุ่นน้องๆ
โดยเฉพาะการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันของแต่ละศาสนา การให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน
เป็นตัวอย่างที่ดีที่วิถีในอดีตได้ปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่างแล้วประสบความสำเร็จด้วย
โดยใช้ความรักและความสามัคคีของคนในชาติ เป็นจุดหลักของการดำเนินชีวิต
นางสาวมาเรียม กุลามาหมัด
จากวิทยาลัยชุมชนสงขลา
จังหวัดสงขลา นับถือศาสนาอิสลาม กล่าวถึงความประทับใจว่า
ตลอดระยะเวลาที่อยู่กับเพื่อนที่เริ่มต้นไม่รู้จักกัน ช่วงแรกกังวลมากว่าเราจะเข้ากับเพื่อนๆ
ได้หรือไม่ เพราะ ทุกคนมาจากต่างที่ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อกัน แต่ระยะเวลา 2-3
วันนี้ เพื่อนๆทุกคนล้วนเปิดใจ ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน
อยู่ร่วมกันอย่างให้เกียรติและเป็นมิตร ทำให้สบายใจขึ้น แม้ว่าบางกิจกรรมจะ เหนื่อย
ร้อน แต่เราก็เรียนรู้ได้ว่า ถ้าเราช่วยเหลือกัน และวางอคติในใจลง
ไม่มองแต่แง่ร้ายของคนอื่นก็จะทำให้เรามีความสุข เรื่องที่หนัก
หรือยากก็จะประสบความสำเร็จ ส่วนกิจกรรมต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้
การได้เยี่ยมชมสถานที่ในประวัติศาสตร์การเรียนรู้ในวิถีชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างใน
3 ศาสนาคือ พุทธ คริสต์ อิสลาม
แต่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ที่น่าสนใจคือ
การดำเนินชีวิตบนวิถีความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่ทุกชุมชน
สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
เพราะมีความเป็นหนึ่งเดียวกันและมีความรักในสิ่งเดียวกัน พวกเรารักในหลวงเหมือนกัน
ยิ่งการได้เรียนรู้ถึงการทรงงานของพระองค์ท่าน
ยิ่งทำให้ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย และรักในหลวงมากขึ้น
และเชื่อว่าการอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข
เป็นสิ่งที่จะทำให้พระองค์ท่านสบายพระราชหฤทัยมากขึ้น สังคมเองก็มีความสุขตามไปด้วยนอกจากนี้ กิจกรรมนี้ทำให้เรารู้จักหน้าที่ของคนไทย
คือการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินแห่งนี้ตามหน้าที่ของเรา
เพราะประวัติศาสตร์ที่ได้เรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้เราเข้าใจเรื่องความเสียสละ
ความอดทน ความรักชาติ ของบรรพบุรุษได้ทำหน้าที่เสียสละเพื่อบ้านเมืองอย่างไร
โดยเฉพาะเมื่อเรามีความสามัคคีกัน ทุกๆ ความสำเร็จจะเกิดขึ้น
ถ้าคนไทยรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ประเทศไทยจะมีความสงบจนถึงปัจจุบันนี้ ล้วนมาจากการใช้วิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างทางศาสนา
ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ใน 3 จังหวัดชายแดน บางครั้งความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอาจทำให้เรามีปัญหาในการอยู่ร่วมกันในเรื่องเพียงเล็กๆ
น้อยๆ แต่การเรียนรู้ในโครงการนี้ได้ชี้ให้เข้าใจถึงหลักการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันทำให้อยู่ด้วยกันมาอย่างยาวนาน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เรามีหน้าที่ส่งต่อความรู้นี้ต่อไปยังเด็กๆในรุ่นต่อๆ ไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น