วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตปั้นบัณฑิตสู่อนาคตรองรับการเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 21

  ดร.วัลลภ สุวรรณดี อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยฯตระหนักและให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยเฉพาะปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบในทุกๆด้านดังนั้ มหาวิทยาลัยในฐานะเป็นองค์กรทางการศึกษาจึงต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้ก้าวทันโลกในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่มีการแข่งขันสูงมหาวิทยาลัยโดยคณะต่างๆและกองกองประชาสัมพันธ์จึงจัดโครงการแนะแนวการศึกษา ให้กับนักเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆเพื่อติดอาวุธทางความคิดเชิญชวนนักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยประจำปีการศึกษา 2560 ทั้งนี้ในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้นมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการสร้างหรือพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตให้เป็นผู้ที่มีความพร้อมด้านวิชาการ วิชาชีพ มีความรู้คู่คุณธรรมที่สำคัญในศตวรรษที่21ซึ่งเป็นยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงในมิติที่หลากหลายมหาวิทยาลัยจึงหวังปั้นบัณฑิตรองรับการเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคตให้มีศักยภาพสามารถนำองค์ความรู้คู่คุณธรรมจากศาสตร์ที่ศึกษาสู่โลกของการแข่งขันในยุคดิจิทัลได้อย่างมีคุณภาพ
       สำหรับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตนั้นถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำที่จัดการศึกษาในคณะและสาขาวิชาที่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 รองรับตลาดแรงงานโลกโดยเฉพาะตลาดในอาเชี่ยนและประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงวันนี้มหาวิทยาลัยจึงได้เตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาทั้งด้านบุคลากร อาคาร สถานที่และสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างครบวงจร ที่สำคัญมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเป็นองค์กรทางการศึกษาที่ได้รับการรับรองจาก Webometrics ซึ่งเป็นเว็บไชด์ชื่อดังของประเทศสเปนในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกและจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุดปี 2016 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตติด 1 ใน 10 ของมหาวิทยาลัยอิเลคทรอนิกส์เอกชนไทยที่ดีที่สุด พร้อมกันนั้นมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตยังติดอันดับ 1 ใน 7 มหาวิทยาลัยเอกชน TOP UNIVERSITY BY GOOGLE SCHOLA CITATION ประจำปี2016 เช่นกัน
       ดร.วัลลภกล่าสต่อไปว่าในขณะนี้มหาวิทยาลัยกำลังรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2560ร ะดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในหลากหลายสาขาวิชา พร้อมกับมีทุนการศึกษาทั้งทุนเล่าเรียนดี ทุนผู้มีความสามารถพิเศษต่างๆ ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร 02-320-2777 หรือwww.kbu.ac.th ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตซึ่งถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ผู้ก่อตั้งได้กำหนดให้เป็นมรดกขององค์กรทางการศึกษาทีอยู่ควบคู่กับสังคมไทยตลอดไปเหนือสิ่งอื่นใดในการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญที่จะให้นักศึกษาและบัณฑิตเป็นผู้ที่มีความพร้อมสามารถสร้างคุณประโยชน์

ม.เกษมบัณฑิตผุด Sport Center ขับเคลื่อนการพัฒนากีฬา ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ

      มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผุด Sport Center ขับเคลื่อนการพัฒนากีฬา ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ จากการที่รัฐบาลภายใต้การนำของพล. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการกีฬาและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการปฏิรูปประเทศ

          ดร. เสนีย์ สุวรรณดี รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยฯตระหนักและให้ความสำคัญในการตอบสนองนโยบายการพัฒนาการกีฬาของรัฐบาลซึ่งตั้งแต่มีการจัดตั้งวิทยาลัยแและเปลี่ยนผ่านมาเป็น ม.เกษมบัณฑิตตั้งแต่ปี 2530 มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสนับสนุนการกีฬามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถทางการกีฬาเข้าศึกษาในทุกระดับเพื่อสร้างทรัพยากรทางด้านการกีฬาให้กับวงการกีฬาไทย ประกอบกับระยะหลังการกีฬาเป็นที่นิยมทั่วโลกทั้งนี้เพราะกีฬาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมได้ มหาวิทยาลัยจึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาการกีฬาอย่างเป็นระบบ มีการเตรียมความพร้อม บุคลากร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับความเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรมการกีฬาอย่างเป็นทางการ

     ดร. เสนีย์กล่าวต่อไปว่าเมื่อรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศรวมทั้งการกีฬายังได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการลงประชามติมาแล้วด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้ในอนาคตอันใกล้นี้สามารถเป็นประเทศที่มีความพร้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบาลรัฐบาลได้อย่างแท้จริง. ด้วยความสำคัญของการกีฬาและเพื่อตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล มหาวิทยาลัยจึงได้เปิด KBU Sport Center สำหรับรองรับการพัฒนาวงการกีฬาไทย ศูนย์กีฬาดังกล่าวตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้าเป็นศูนย์กีฬาที่มีความพร้อมทันสมัยครบวงจรเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กีฬาของประเทศไทยที่มีอยู่ในขณะนี้ก็ว่าได้ ซึ่งการบริการสำหรับศูนย์กีฬาดังกล่าว ประกอบด้วย สนามกีฬากลางแจ้งและในร่มเช่น สนามฟุตบอลมาตรฐาน, สนามวอลเลย์บอล, สนามแบดมินตัน, สนามเทนนิส, สนามบาสเกตบอล, สระว่ายนำ้ โบว์ลิ่ง ซาวน่า ฯลฯ พร้อมกันนั้นมหาวิทยาลัยได้จัดสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬารองรับการบริการไว้ในศูนย์กีฬาดังกล่าวด้วย สำหรับศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬานั้นเป็นศูนย์ฯที่ทันสมัยมีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัยยิ่งโดยเฉพาะเครื่องมือและอุปกรณ์เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินกีฬาชนิดต่างๆรวมทั้งเครื่องมือที่รองรับการพัฒนาผู้สูงอายุ ในระยะเวลาที่ผ่านมาศูนย์กีฬาดังกล่าวนอกจากจะบริการเพื่อการพัฒนาการกีฬาของมหาวิทยาลัยและบุคลากรทั่วไปแล้วยังได้ดำเนินการบริการให้กับองค์กรทางการกีฬาภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสหพันธ์กีฬานานาชาติและสโมสรกีฬาอาชีพทั้งในและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องซึ่งผู้ที่มาใช้บริการต่างประทับใจกับการบริการและด้วยมิติต่างๆที่หลากหลาย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าด้วยทำเลที่ตั้งและสถานที่อื่นอาจจะไม่เหมือนกับที่ ม เกษมบัณฑิต ก็ว่าได้

          ดร.เสนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าเพื่อให้การพัฒนาการกีฬาของมหาวิทยาลัยครบวงจรอย่างแท้จริงและเพื่อตอบสนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 รวมทั้งเพื่อรองรับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 6 มหาวิทยาลัยฯจึงได้มีการเตรียมการพัฒนาทรัพยากรหรือบุคลากรทางด้านการกีฬาด้วยการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อจัดการศึกษาใน2หลักสูตรและ2 สาขาวิชาประกอบด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการกีฬาและนันทนาการเพื่อสุขภาพ ในขณะเดียวกันวันนี้มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการด้านความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศทางการกีฬาเพื่อจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาแและการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างครบวงจรทั้งนี้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการกีฬาที่กำลังเจริญเติบโตและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนให้กับประเทศชาติได้เป็นอย่างดี และเหนือสิ่งอื่นใดวันนี้มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพที่มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการต่างๆอยู่แล้วทุกด้านแต่ในด้านการกีฬานั้นมหาวิทยาลัยจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ชาติในการสร้างความเป็นเลิศในระดับชาติและนานาชาติภายใต้ปณิธาน คุณค่า คุณธรรม คุณประโยชน์ ดร. เสนีย์กล่าวในที่สุด






วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เกษมบัณฑิต กับมหาวิทยาลัยที่สุดแห่งยุคดิจิทัล

จากผลการสำรวจของ www.webmetrics.info เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา “Top University by Google Scholar Citations มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตขยับตำแหน่งขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผู้สนใจเข้ามาสืบค้นงานเขียนด้านวิชาการ งานวิจัย ต่างๆ โดยผ่านจากฐานข้อมูล Google Scholar ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลบทความ และค้นข้อมูลด้านงานวิจัยต่างๆ จากทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 32 ของประเทศที่มีจำนวนสถาบันที่เปิดการเรียนการสอนกว่า 170 สถาบัน ทั่วประเทศ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เกิดจากผลงานการวางแผนการพัฒนามหาวิทยาลัย ตามแนวทางที่ท้าทายต่อการวางแผนพัฒนามหาวิทยาลัยว่าภายในปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย โดยมีนวัตกรรมหรือผลผลิตทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติเชิงรุก (PROACTIVE PRACTITIONER) สามารถทำงานและดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเข้มแข็งและมีความสุข 



ดร.วัลลภ  สุวรรณดี
อธิการบดี
ดร.วัลลภ  สุวรรณดี อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ได้กล่าวว่าการดำเนินงานบริหารมหาวิทยาลัยในยุคปัจจุบันนั้น เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังถึงคุณภาพบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามาก เกษมบัณฑิตไม่หยุดที่จะพัฒนาบัณฑิตให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพในทุกมิติของการเรียนรู้  เราสอนให้บัณฑิตสามารถทำงานได้จริงควบคู่กับใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข  ซึ่งสิ่งที่จะทำให้ก้าวสู่จุดนั้นได้ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องพัฒนาทั้งด้านวิชาการ และด้านสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ ของมหาวิทยาลัยและ สิ่งสนับสนุนที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เพื่อก่อให้เกิดความสมดุลในทุกมิติ  นอกจากนี้ เกษมบัณฑิตยังพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการขาดแคลนแรงงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การเปิดสอนในคณะด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการออกแบบแฟชั่น หรือด้านธุรกิจการค้าปลีก เพื่อเป็นทางเลือกที่หลากหลายในการสร้างอาชีพของตนเอง เพราะต้องยอมรับว่า ช่วงเวลาไม่กี่ปีนี้มีสาขาอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และคนรุ่นใหม่เองก็ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเองเพิ่มขึ้น โดยมหาวิทยาลัยได้นำผลจากงานวิจัยต่างๆ มาประกอบข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ เสมอ ซึ่งการเพิ่มศักยภาพงานวิจัยให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัยนั้น เรามีหน่วยงานด้านวิจัยเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีผู้บริหารที่เชี่ยวชาญด้านงานวางแผน อย่างดร.เสนีย์  สุวรรณดี รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา เป็นผู้กระตุ้นและสร้างเสริม สนับสนุนให้บุคลากรได้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง 


ดร.เสนีย์  สุวรรณดี
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
           ดร.เสนีย์ สุวรรณดี รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา กล่าวว่า ผลงานวิจัยที่ได้รับการติดอันดับ 7  “Top University by Google Scholar Citations” จากการจัดอันดับ โดย www.webmetrics.info นั้น ส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนางานด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา วารสารวิชาการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน กลุ่มที่ 1 หรือ TCI 1 คือจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre : TCI)  ซึ่งในวงการวิชาการนั้น ได้รับการยกย่องว่าการจัดทำฐานข้อมูล TCI จึงสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพผลงานวิจัยไทยได้  นอกจากนี้ งานด้านการวิจัยยังเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่มหาวิทยาลัยจะมีส่วนช่วยสังคม โดยเฉพาะงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นคือ ต้องสามารถจับต้องได้จริง กล่าวคือ เป็นงานวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์จากผลของงานวิจัย ที่ผ่านมาเกษมบัณฑิต ดำเนินโครงการในลักษณะนี้ อาทิ การพัฒนาข้าวอ่อนหวาน จากสหกรณ์การเกษตรกรผักไห่ จำกัด โดย ดำเนินการอบรมด้านการบริหารจัดการธุรกิจ จัดทำแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยเฉพาะการจัดทำบรรจุภัณฑ์ข้าวสารพันธุ์หอมชลสิทธิ์ขึ้นใหม่ ภายใต้เครื่องหมายการค้า อ่อนหวาน ที่ขณะนี้จัดจำหน่ายทั่วประเทศและอยู่ระหว่างการจัดการด้านการส่งออกด้วย หรือ ด้านการจัดการค้าปลีกที่มหาวิทยาลัยได้ลงพื้นที่เข้าร่วมพลิกฟื้นโอกาสทางธุรกิจแก่ร้านขายของชำทั้งปลีกและส่งสัญชาติไทย ในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 400,000 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เข้าร่วมพัฒนาและปฏิวัติภาพลักษณ์ร้านโชว์ห่วยใหม่ให้มีความทันสมัย ไม่แพ้ร้านสะดวกซื้อ  ให้ประชาชนผู้บริโภคหันกลับมาใช้บริการร้านขายของชำในชุมชนใกล้บ้านมากขึ้น ไม่ให้ผู้ประกอบการเกิดความท้อแท้และปิดกิจการไป
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้งานวิจัยมีความยั่งยืนและต่อยอดสู่งานวิจัยในเรื่องต่างๆ ได้  โดยต้องอาศัยความร่วมมือกัน การทำงานเป็นทีม เป็นความเข้มแข็งทางวิชาการที่คณาจารย์มีประสบการณ์วิจัยที่หลากหลาย มารวมกันและแลกเปลี่ยนความรู้ โดยอาศัยหลัก การบริหารจัดการความรู้ KM  (Knowledge Management) เกิดเครือข่างทางสังคมขึ้น ทำให้งานมีประสิทธิภาพ  ยกระดับงานวิจัยไทยให้มีความก้าวหน้าและเข้มแข็งขึ้น
ดร.เสนีย์กล่าวในตอนท้ายว่า เป้าหมายสูงสุดในการพัฒนามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตคือการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ทรงคุณค่าได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและนานาชาติ เป็นแหล่งรวมขององค์ความรู้ บุคลากรเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับมีความเป็นเลิศในศาสตร์ที่จัดการเรียนการสอนและที่สำคัญเกษมบัณฑิตคือการเป็นองค์กรแห่งความผาสุกสมาชิกทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้บรรยากาศแห่งความคิดสร้างสรรค์ ความสุข ความรักและภักดีต่อองค์ มีการทำงานเป็นทีมและมีความเป็นมืออาชีพคุณภาพชั้นนำอย่างแท้จริง

          ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มี 2 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตพัฒนาการและวิทยาเขตร่มเกล้า ถนนร่มเกล้า ตั้งอยู่ฝั่งกรุงเทพตะวันออก ภายในมีหอพักนักศึกษาที่ให้บริการรองรับนักศึกษาได้มากกว่า 1,200 คน และมีนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศจีน นิยมเข้ามาศึกษาต่อที่นี่กว่า 800-1,000 คน และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวที่นำเครื่องบินจริงมาไว้ในมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง ในสาขาวิชาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน 






วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อยากเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยน..ต้องทำอย่างไร?

เกษมบัณฑิตให้ประสบการณ์ใหม่มอบทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย  

  โลกยุคการสื่อสารนี้ หากใครมีความสามารถพูดได้หลายภาษาย่อมได้เปรียบกว่าคนอื่น หลายคนอยากสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ โดยการสมัครเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยน เพราะเชื่อกันว่าการไปเรียนที่ต่างประเทศเป็นวิธีที่พัฒนาภาษาของตนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กับ Institute of African and Asian Studies, Moscow State University สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักศึกษาจำนวนมาก โดยนักศึกษาที่ได้รับทุนดังกล่าวจะได้เรียนรู้เนื้อหา ทั้งทางวิชาการ ชุมชนปฏิบัติ และความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ เป็นระยะเวลากว่า 10 เดือน โดยคุณสมบัติของผู้ได้รับ ทุนต้องเรียนวิชาภาษารัสเซีย 1 และ 2 แล้วสอบคัดเลือก และเมื่อนักศึกษาผ่านการคัดเลือกแล้ว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จะมอบทุนค่าลงทะเบียนเรียนฟรี พร้อมเบี้ยเลี้ยงสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ตลอดการศึกษา เรียกว่าฟรีตลอดการเดินทาง  ส่วนค่าโดยสารเครื่องบินไป - กลับระหว่างประเทศนักศึกษาเป็นรับผิดชอบเอง ทั้งนี้นักศึกษาบางคนอาจได้ทำงานพิเศษที่สถานทูตไทย ประจำประเทศรัสเซีย ซึ่งมีเงินเดือนให้ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนในครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดในชีวิตของนักศึกษา





โดยนักศึกษา นางสาวนัทธ์หทัย ชื่นชม (แจน) นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ได้รับทุนการศึกษาในปีนี้ เพื่อเดินทางไปศึกษาต่อ ได้กล่าวว่า ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่แจนมีความสนใจตั้งแต่เรียนปี 1 และเมื่อได้เข้าเรียนกับอาจารย์ปิติตุล ชวนะชิต อาจารย์สอนภาษารัสเซียที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จึงพยายามฝึกพูด ฝึกเขียนในชั้นเรียน และเปิดYouTube เพื่อดูคลิปวีดิโอสอนภาษารัสเซียเบื้องต้น (Say hi Russia) ซื้อหนังสือไวยากรณ์ภาษารัสเซียมาอ่าน จนปลายเทอมที่มหาวิทยาลัย ได้จัดทดสอบ ปรากฏว่า คะแนนของแจนอยู่ในเกณฑ์จึงได้รับโอกาสดีๆ จากมหาวิทยาลัยให้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย  โดยการเดินทางครั้งนี้ เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ และรู้สึกว่าโชคดีที่มีโอกาสได้พัฒนาตนเอง ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในสาขาที่กำลังเรียนด้านการจัดการโรงแรม ดังนั้นภาษาจึงมีความสำคัญมาก ถ้าเรามีความสามารถสื่อสารได้เพิ่มขึ้นอีก 1 ภาษา น่าจะช่วยให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตมากขึ้นค่ะ     


จากซ้ายชื่อนัทธ์หทัย ชื่นชม ชื่ออาภาภรณ์ เอี่ยนเหล็ง โสธิดา ยังสบาย 
ด้านนางสาวโสธิดา ยังสบาย (เอ๋ย) นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรม กล่าวว่า เมื่อทราบข่าวว่ามหาวิทยาลัยจะมีทุนการศึกษาให้ไปศึกษาต่อประเทศรัสเซีย ในMoscow State University ทำให้มีแรงผลักดันในใจค่ะ เพราะเราอยากไปต่างประเทศอยู่แล้วจึงตั้งใจมากๆ ที่จะสอบชิงทุนครั้งนี้ ตั้งใจเรียนวิชาภาษารัสเซีย พยายามจดจำและรวบรวมสิ่งที่อาจารย์สอน ฝึกพูด ฝึกอ่าน ฝึกเขียนบ่อยๆ ทำทุกๆ วันตลอดเทอม เมื่อถึงวันประกาศผล ยอมรับว่าตื่นเต้นมาก และดีใจที่ทำสำเร็จได้รับทุนครั้งนี้  และช่วงนี้ก่อนเดินทางต้องเตรียมตัวให้พร้อม ค้นหาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวของรัสเซีย ฯลฯ  เพราะระยะเวลา 10 เดือนที่ต้องไปอยู่ต่างประเทศนั้น จะเก็บเกี่ยวสิ่งต่างๆ ให้มากที่สุด 


นางสาวอาภาภรณ์  เอี่ยนเหล็ง (ฝัน) นักศึกษาจากสถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน สาขาวิชาธุรกิจการบิน ได้เล่าว่า ทราบข่าวการสอบชิงทุน จากอาจารย์และเพื่อนที่เคยเข้าร่วมโครงการนี้ ประกอบกับตนเองมีความสนใจภาษารัสเซียเป็นทุนเดิม จึงตัดสินใจเลือกเรียนวิชาภาษารัสเซีย พยายามตั้งใจเรียน มั่นฝึกพูด อ่าน เขียน ตลอดจน ทำให้ผลคะแนนออกมาดี และทราบว่าได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยรู้สึกตื่นเต้น ดีใจมาก ที่ได้รับโอกาสดีๆ แบบนี้ และตั้งใจไว้ว่าจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในต่างประเทศให้มากที่สุด


สำหรับนักศึกษาที่ได้รับทุนเมื่อปีที่แล้ว ได้เดินทางกลับมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ของชีวิตการเรียนในต่างแดน ณ ประเทศรัสเซียโดย



นายวิจัย กอเดช  (คิว) นักศึกษาจากสถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน สาขาวิชาธุรกิจการบิน เล่าว่า ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตที่ให้โอกาสผมได้มีประสบ การณ์ดีๆ ครั้งนี้ ผมมีความสุขตลอดเวลาที่อยู่รัสเซีย ได้พบเพื่อนที่ดีเพื่อนรัสเซีย และจากประเทศอื่นๆ ด้วย  ได้เรียนรู้การสื่อสารและการใช้ภาษารัสเซีย    มากขึ้น เข้าใจวัฒนธรรม ที่แตกต่างกับประเทศไทย และรู้จักการปรับตัว การใช้ชีวิตในต่างแดน มีโอกาสท่องเที่ยวเมืองใหญ่ๆ ของรัสเซีย ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และสวยงามมาก จึงอยากบอกเพื่อนๆ ที่กำลัง ยังไม่รู้จักภาษารัสเซียว่า ภาษารัสเซียนั้นเป็นภาษาที่มีเสน่ห์ ไม่แพ้ภาษาอื่นของโลก  อยากคิดว่ามันยาก หรือไม่กล้าพูด ขอให้ลองเปิดใจเข้ามาเรียนแล้วเชื่อว่าจะตกหลุมรักทักที  ถ้าน้องๆ ฝึกฝนและพยายามมุ่งมั่น สามารถทำคะแนนเข้าเกณฑ์ก็สามารถชิงทุนเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนได้เหมือนกันครับ ขอให้ทุกคนโชคดีและได้รับประสบการณ์ดีๆ แบบผมนะครับ


นายรชตณัฏฐ์   จิรกิตติปกรณ์ (ตั้ง) นักศึกษาจากสถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน สาขาวิชาธุรกิจการบิน เล่าถึงประสบการณ์ครั้งนี้ว่า ผมได้รับความรู้ใหม่ๆ และประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมในการศึกษาที่รัสเซีย  ผมรู้สึกว่าประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้ผมเติบโตมากขึ้น เพราะสิ่งที่ได้รับ ไม่ใช่เพียงความรู้ หรือภาษา เท่านั้น แต่รวมถึงถึงการใช้ชีวิต เราได้สัมผัสวิถีความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณีบ้านเมืองของเขา  ซึ่งจุดนี้เราเท่านั้นที่จะสามารถสัมผัสมันได้ ด้วยตัวเอง ไม่ได้สัมผัสจากคนอื่นเล่าให้ฟัง หรือจากการอ่านจากหนังสือแต่เราได้สัมผัสจากของจริง ผู้คนจริงๆ เป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ายิ่งครับสำหรับผู้สนใจโครงการศึกษาแลกเปลี่ยน ไทย-รัสเซีย ผมอยากฝากว่าเราอย่ากลัวในสิ่งที่เราไม่เคยทำ ขอแค่ให้เราได้ทดลองทำ แล้วเชื่อเถอะครับว่าชีวิตเรา จะไม่เหมือนเดิม ขอให้ทุกท่านได้ลองตัดสินใจนะครับ




นางสาวชลดา สดสอาด (มินนี่) นักศึกษาจากสถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน  สาขาวิชาธุรกิจการบิน  กล่าวว่า การไปศึกษาต่อครั้งนี้ เปิดโลกทัศน์ เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับชีวิต ได้เรียนรู้ทั้งภาษา วัฒนธรรมและประวัติ- ศาสตร์  ซึ่งมีประโยชน์มาก เพราะเราได้เข้าไปใช้ชีวิตคลุกคลีกับสิ่งเหล่านั้น อย่างจริงจัง ทำให้ช่วยเรื่องการสื่อสารได้เข้าใจเร็วขึ้น อีกทั้งยังได้ท่องเที่ยว และเรียน รู้จักผู้คนพื้นเมือง มีเพื่อนๆรัสเซีย และ อาจารย์ที่ดูแลเราเสมือนสมาชิกในครอบครัว การได้ไปศึกษาที่รัสเซีย คือประสบการณ์ที่น่าประทับใจครั้งหนึ่งของชีวิต อยากให้เพื่อนๆ ได้ลองสัมผัสประสบการณ์แบบนี้บ้าง แล้วเพื่อนๆ จะได้อะไรมากกว่าที่คิดแน่นอนค่ะ














ด้านดร.พนิดา  ชื่นชม คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ผู้รับผิดชอบและดูแลโครงการนักศึกษาทุนแลกเปลี่ยน Institute of African and Asian Studies, Moscow State University สหพันธรัฐรัสเซีย ได้กล่าวว่า โครงการนี้ต้องการสนับสนุนและกระตุ้นให้นักศึกษาหันมาสนใจภาษารัสเซียมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในประเทศไทยและทั่วโลกมีผู้ที่สามารถสื่อสารภาษารัสเซียได้น้อยมาก ในขณะที่ความต้องการจากทั่วโลกที่จำเป็นต้องใช้ผู้มีความสามารถด้านภาษารัสเซียมีจำนวนมาก  สำหรับประเทศไทยเอง ด้านการท่องเที่ยวก็มีนักท่องเที่ยวจากรัสเซียเป็นจำนวนมากที่เข้ามาเที่ยวที่เมืองไทย ก็ขาดแคลนบุคลากรด้านภาษารัสเซียมากเช่นกัน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมนักศึกษาให้มีประสบการณ์ใหม่ๆ ในต่างประเทศ และสามารถนำประสบการณ์นี้มาถ่ายทอดให้น้องๆ ในรุ่นต่อๆ ไปด้วย อยากฝากกับนักศึกษาทุกท่านว่าความรู้นอกจากในตำราเรียนแล้วยังสามารถค้นหาได้จากประสบการณ์อีกด้วย การเดินทางไปต่างประเทศในฐานะนักศึกษาแลกเปลี่ยนจะเป็นโอกาสที่ได้รับสิ่งใหม่ๆ และมีคุณค่าเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือ จะเป็นรากฐานให้นักศึกษาในการสร้างอนาคตของตนเองอีกด้วย 


อยากได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด สามารถสอบถามได้ที่ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อาคารเกษมนครา ชั้น 2 หรือ อาจารย์ปิติตุล ชวนะชิต โทร.02-904-2222 ต่อ 2209 หรือ Line ID: meeh1980 


เกษมบัณฑิตนำธงพหุวัฒนธรรม ซึมซับเยาวชนจากเหนือถึงใต้


การยอมรับความแตกต่างกันของคนในสังคม จะช่วยให้สังคมมีความสุขขึ้น และช่วยลดปัญหาความขัดแย้งได้อย่างยั่งยืนหลักการนี้ จึงทำให้มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต นำเป็นโจทย์ในการสร้างกิจกรรมที่จะแก้ปัญหานี้ โดยศึกษาจากประวัติศาสตร์ในอดีตของการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุลักษณ์ พหุวัฒนธรรม ที่ชุมชนยอบรับความแตกต่าง และจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิด  “โครงการค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ปี 2559” ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ซึ่งมีแนวทางที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยบนพื้นฐานความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกัน 





อ.ชนะ  กร่ำกระโทก อาจารย์ประจำศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผู้ดูแลโครงการนี้จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้เล่าว่า จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ เกิดจาก ข่าวคราวความไม่สงบในภาคใต้ จึงทำให้คณะทำงานได้ปรึกษากันว่า เยาวชนนั้นน่าจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการดำเนินชีวิตว่า อยู่อย่างแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก และมีความสุขในสังคมนั้น ควรเริ่มต้นจากอะไรบ้าง ซึ่งขณะนั้นสกอ. มีแนวคิดที่ตรงกัน จึงสร้างกิจกรรมในลักษณะค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อให้นักศึกษาที่มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศรวม กว่า 100 คน ได้มีโอการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิด  โดยเราได้พานักศึกษาลงพื้นที่จริงศึกษาถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนในอดีต อาทิ การจัดการความขัดแย้ง ในสังคมพหุลักษณ์ สังคมพหุวัฒนธรรมด้วยสันติวิธี และธรรมาภิบาล   ที่มัสยิดวัดท่าการ้อง ชุมชนกุฎีจีน (โบส์ซางตา ครู้ส) หรือ ทัศนศึกษาชุมชนวัดประยูร (วัดประยุรวงศาวาส) เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจอย่างถูกต้อง และเป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตรับเป็นผู้จัดการโครงการต่อเนื่องมากว่า 5 ปี 




นายรอยยาน  ซีนา   จากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี  จังหวัดปัตตานี นับถือศาสนาอิสลามหนึ่งในตัวแทนผู้เข้าร่วมค่ายเล่าให้ฟังว่า จากเดิมผมรักในหลวงอยู่แล้ว การเข้าค่ายครั้งนี้ทำให้รักในหลวงมากขึ้น ได้เข้าใจลึกซึ้งว่าตลอดหลายปีที่ท่านครองราชย์ได้ทรงทำงานหนักเพื่อประชาชนของพระองค์ ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อประชาชนทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตทรงทุ่มเท อุทิศตนเพื่อรักษาชาติ บ้านเมืองทำให้เราเป็นไทยได้ในทุกวันนี้ ในประวัติศาสตร์ทหารหาญที่ร่วมกันรักษาประเทศมีหลายท่านที่มาจากต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา มีความรักและอยู่อาศัยบนแผ่นดินไทยสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน จนเป็นต้นกำเนิดของบรรพบุรุษต่างๆ  ความเสียสละที่เกิดขึ้นทำให้เรากล้าพูดได้ว่าภาคภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย บนแผ่นดินไทย
การร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้ ทำให้เข้าใจในความคิดทุกศาสนาอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถ้าเราเข้าใจแก่นแท้ของทุกศาสนาจากผู้รู้ ผู้ปฏิบัติในศาสนานั้นๆ ที่ทุกคำสอนของทุกศาสนามุ่งให้คนเป็นคนดี ซึ่งเป็นจุดสำคัญให้เราเปลี่ยนความความคิดที่ไม่ดีต่อกันเปลี่ยนความคิดว่าเราทุกศาสนาสามารถเข้ากันได้ อยู่ร่วมกันได้ เริ่มจากตัวเอง ขยายไปที่เพื่อนเรา ไปเพื่อนบ้านเราจนถึงชุมชน และสังคมเรา เหมือนในอดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมา อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน แม้ต่างศาสนากัน สังคมเกิดความสามัคคี และดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ แต่น่าเสียดายที่สังคมปัจจุบัน ขาดความสามัคคี ขาดความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องกัน การให้เกียรติกันถ้าสังคมปัจจุบันได้เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตของคนในอดีตอย่างลึกซึ้ง สังคมจะน่าอยู่มากขึ้นแน่นอนสุดท้ายนี้ การร่วมกิจกรรมจากพี่ น้องที่มาจากพื้นที่ที่แตกต่างกัน รอยยิ้มจากการต้อนรับที่อบอุ่นจากอาจารย์ และพี่ๆทีมงาน ทำให้เกิดมิตรภาพมากขึ้นกิจกรรมหลายๆ อย่างทำให้เห็นถึงความเสียสละ ความทุ่มเท ในการทำงาน ผมจึงรู้สึกสบายใจที่ได้ร่วมกิจกรรม แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน 


นางสาวอำไพ โชคชัยพรนิภา จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ นับถือศาสนาคริสต์ ได้กล่าวว่า ตนเองเคยเข้ารวมค่ายประเภทต่างๆมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ มีความแปลกใหม่ ที่เพื่อนๆ มาอยู่ร่วมกันนั้นมาจากการนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน แต่เราก็สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีความอบอุ่นของพี่น้องต่างสถาบัน ซึ่งนับเป็นการสร้างประสบ- การณ์ที่ดี นอกจากนี้ยังได้รู้ว่า แม้เพื่อนจะไม่ได้นับถือศาสนาเดียวกัน แต่ถ้าเราเรียนรู้ที่จะมีใจศรัทธาในสิ่งเดียวกัน มีความช่วยเหลือกันก็ทำให้สังคมเกิดความสุขได้  





นายวรเชรฐ์   มูฮัมหมัดสอี๊ด (วร) จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต  กรุงเทพฯ ศาสนาอิสลาม กล่าวว่า ค่ายนี้ให้ความสนุกและสอดแทรกความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่างได้อย่างมีความสุข พยายามให้พวกเรารุ่นใหม่เข้าใจว่า ความแตกต่างไม่ได้เป็นสิ่งแปลกในสังคม เพราะในอดีตสังคมไทยก็มีความแตกต่างกันในทุกๆด้าน แต่พวกเราก็เป็นชาติเดียวกัน เป็นคนไทยเหมือนกันหลายๆ กิจกรรมช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผมโดยเฉพาะ การทำงานร่วมกันกับเพื่อนที่มาจาก 3 จังหวัดภาคใต้ กิจกรรมช่วยสร้างมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีให้กับพวกเราและเกิดสร้างแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ทำงานต่างๆสำเร็จยิ่งขึ้น กิจกรรมที่ได้เข้าร่วมครั้งนี้ ได้เรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมการเป็นอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่หลากหลาย มีหลักปฏิบัติตนของศาสนา ทั้ง 3 ศาสนา ได้เยี่ยมชม เรียนรู้ประวัติของสถานที่สำคัญ ซึ่งความรู้ที่ได้ครั้งนี้ จะนำไปบอกต่อให้กับเพื่อนๆ และรุ่นน้องๆ โดยเฉพาะการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันของแต่ละศาสนา การให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน เป็นตัวอย่างที่ดีที่วิถีในอดีตได้ปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่างแล้วประสบความสำเร็จด้วย โดยใช้ความรักและความสามัคคีของคนในชาติ เป็นจุดหลักของการดำเนินชีวิต





          นางสาวมาเรียม  กุลามาหมัด  จากวิทยาลัยชุมชนสงขลา  จังหวัดสงขลา    นับถือศาสนาอิสลาม กล่าวถึงความประทับใจว่า ตลอดระยะเวลาที่อยู่กับเพื่อนที่เริ่มต้นไม่รู้จักกัน ช่วงแรกกังวลมากว่าเราจะเข้ากับเพื่อนๆ ได้หรือไม่ เพราะ ทุกคนมาจากต่างที่ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อกัน แต่ระยะเวลา 2-3 วันนี้ เพื่อนๆทุกคนล้วนเปิดใจ ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างให้เกียรติและเป็นมิตร ทำให้สบายใจขึ้น แม้ว่าบางกิจกรรมจะ เหนื่อย ร้อน แต่เราก็เรียนรู้ได้ว่า ถ้าเราช่วยเหลือกัน และวางอคติในใจลง ไม่มองแต่แง่ร้ายของคนอื่นก็จะทำให้เรามีความสุข เรื่องที่หนัก หรือยากก็จะประสบความสำเร็จ ส่วนกิจกรรมต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ การได้เยี่ยมชมสถานที่ในประวัติศาสตร์การเรียนรู้ในวิถีชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างใน 3 ศาสนาคือ พุทธ คริสต์ อิสลาม  แต่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ที่น่าสนใจคือ การดำเนินชีวิตบนวิถีความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่ทุกชุมชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เพราะมีความเป็นหนึ่งเดียวกันและมีความรักในสิ่งเดียวกัน พวกเรารักในหลวงเหมือนกัน ยิ่งการได้เรียนรู้ถึงการทรงงานของพระองค์ท่าน ยิ่งทำให้ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย และรักในหลวงมากขึ้น และเชื่อว่าการอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข เป็นสิ่งที่จะทำให้พระองค์ท่านสบายพระราชหฤทัยมากขึ้น   สังคมเองก็มีความสุขตามไปด้วยนอกจากนี้ กิจกรรมนี้ทำให้เรารู้จักหน้าที่ของคนไทย คือการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินแห่งนี้ตามหน้าที่ของเรา เพราะประวัติศาสตร์ที่ได้เรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้เราเข้าใจเรื่องความเสียสละ ความอดทน ความรักชาติ ของบรรพบุรุษได้ทำหน้าที่เสียสละเพื่อบ้านเมืองอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อเรามีความสามัคคีกัน ทุกๆ ความสำเร็จจะเกิดขึ้น ถ้าคนไทยรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ประเทศไทยจะมีความสงบจนถึงปัจจุบันนี้ ล้วนมาจากการใช้วิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างทางศาสนา ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ใน 3 จังหวัดชายแดน บางครั้งความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอาจทำให้เรามีปัญหาในการอยู่ร่วมกันในเรื่องเพียงเล็กๆ น้อยๆ แต่การเรียนรู้ในโครงการนี้ได้ชี้ให้เข้าใจถึงหลักการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันทำให้อยู่ด้วยกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เรามีหน้าที่ส่งต่อความรู้นี้ต่อไปยังเด็กๆในรุ่นต่อๆ ไปด้วย